
You have already added 0 works in your ORCID record related to the merged Research product.
You have already added 0 works in your ORCID record related to the merged Research product.
<script type="text/javascript">
<!--
document.write('<div id="oa_widget"></div>');
document.write('<script type="text/javascript" src="https://beta.openaire.eu/index.php?option=com_openaire&view=widget&format=raw&projectId=undefined&type=result"></script>');
-->
</script>
มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยไอเสียของเครื่องยนต์อากาศยานภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
ปัญหามลพิษทางอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งมีสาเหตุจากการปล่อยไอเสียของเครื่องยนต์อากาศยานเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เนื่องจากปริมาณการขนส่งระหว่างภายในประเทศและระหว่างประเทศมีแนวโน้มสูงมากขึ้น อีกทั้งปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ประเทศไทยในฐานะรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศจึงต้องร่วมมือกับรัฐภาคีอื่น ในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยไอเสียของเครื่องยนต์อากาศยาน โดยนำมาตรการที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศพัฒนาขึ้นภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศซึ่งประกอบไปด้วยมาตรฐานและวิธีปฏิบัติที่แนะนำระหว่างประเทศซึ่งรวบรวมอยู่ในภาคผนวกแห่งอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 16 ว่าด้วยการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม เล่มที่ 2 การปล่อยไอเสียของเครื่องยนต์อากาศยานและมาตรการที่อาศัยกลไกทางเศรษฐกิจระดับสากล มาบังคับใช้ภายในประเทศ วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาและวิเคราะห์ว่าประเทศไทยได้ปฏิบัติตามพันธกรณีในการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยไอเสียของเครื่องยนต์อากาศยานภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศครบถ้วนหรือไม่ อย่างไร ปัญหาทางกฎหมายและข้อจำกัดของมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมจากการปล่อยไอเสียของเครื่องยนต์อากาศยานซึ่งองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศพัฒนาขึ้นภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตลอดจนแนวทางการรับรองมาตรการที่อาศัยกลไกทางเศรษฐกิจระดับสากลของประเทศไทยจากการศึกษาพบว่า1)มาตรฐานและวิธีปฏิบัติที่แนะนำระหว่างประเทศซึ่งรวบรวมอยู่ในภาคผนวกแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ฉบับที่ 16 ว่าด้วยการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม เล่มที่ 2 การปล่อยไอเสียของเครื่องยนต์อากาศยาน มีสถานะเป็นข้อมติขององค์การระหว่างประเทศ และโครงการตรวจสอบการกำกับดูแลความปลอดภัยการบินสากลซึ่งเป็นมาตรการขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในการบังคับใช้มาตรฐานฯ กับรัฐภาคีแห่งอนุสัญญาฯ ไม่ได้ตรวจสอบวิธีปฏิบัติของรัฐภาคีในการรับรองมาตรฐานการระบายเชื้อเพลิงและการปล่อยไอเสียของเครื่องยนต์อากาศยาน รวมถึงการยอมรับการรับรองมาตรฐานดังกล่าวโดยรัฐภาคีอื่น ตามภาคผนวกแห่งอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 16 เล่มที่ 22)ประเทศไทยปฏิบัติตามมาตรฐานและวิธีปฏิบัติที่แนะนำระหว่างประเทศซึ่งรวบรวมอยู่ในภาคผนวกแห่งอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 16 เล่มที่ 2 ยังไม่ครบถ้วน โดยพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ไม่ได้กำหนดให้ระบุมาตรฐานการระบายเชื้อเพลิงและการปล่อยไอเสียของเครื่องยนต์อากาศยาน และรายละเอียดอื่น ๆ ในใบรับรองแบบอากาศยานหรือใบรับรองแบบเครื่องยนต์อากาศยาน ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการยกเว้นการใช้มาตรฐานการปล่อยไอเสียกับเครื่องยนต์อากาศยานบางรุ่น และไม่ได้ให้อำนาจผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยในการยอมรับการยกเว้นการใช้มาตรฐานการปล่อยไอเสียกับเครื่องยนต์อากาศยานบางรุ่นโดยรัฐภาคีอื่น ตามภาคผนวกแห่งอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 16 เล่มที่ 2 3) พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ไม่สามารถออกคำสั่งห้ามใช้อากาศยานซึ่งปล่อยมลพิษทางอากาศเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดตามพระราชบัญญัติส่งเสริมฯ และสั่งให้อากาศยานหยุดเพื่อตรวจสอบ หรือเข้าไปในอากาศยานหรือกระทำการใด ๆ ที่จำเป็น เพื่อตรวจสอบเครื่องยนต์และอุปกรณ์ของอากาศยาน และกำหนดบทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ เนื่องจากยังไม่มีการประกาศมาตรฐานควบคุมมลพิษทางอากาศยานจากอากาศยานตามพระราชบัญญัติส่งเสริมฯ4)ประเทศไทยควรรับรองมาตรการที่อาศัยกลไกทางเศรษฐกิจระดับสากลที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศพัฒนาขึ้น เนื่องจากส่งผลดีต่อประเทศไทยทั้งในด้านเศรษฐกิจและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม เช่น ป้องกันการกีดกันทางการค้า ลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว ประเทศไทยควรเสนอให้องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศปรับปรุงคำถามที่ใช้ในการตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรฐานฯ ในภาคผนวกแห่งอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 16 เล่มที่ 2 ของรัฐภาคี ภายใต้โครงการตรวจสอบการกำกับดูแลความปลอดภัยการบินสากล และประเทศไทยควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 เพื่อให้มาตรการทางกฎหมายของประเทศไทยสอดคล้องกับบทบัญญัติของภาคผนวกแห่งอนุสัญญาฯ ฉบับที่ 16 เล่มที่ 2 นอกจากนี้ ประเทศไทยควรประกาศใช้มาตรฐานการควบคุมมลพิษจากอากาศยานตามพระราชบัญญัติส่งเสริมฯ เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมฯ สามารถออกคำสั่งห้ามใช้อากาศยานซึ่งปล่อยมลพิษทางอากาศเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด และสั่งให้อากาศยานหยุดเพื่อตรวจสอบ หรือเข้าไปในอากาศยานหรือกระทำการใด ๆ ที่จำเป็น เพื่อตรวจสอบเครื่องยนต์และอุปกรณ์ของอากาศยาน และกำหนดบทลงโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ ตลอดจนปรับปรุงนโยบายและออกกฎหมาย เพื่อรับรองมาตรการที่อาศัยกลไกทางเศรษฐกิจระดับสากล
Enhancement and Conservation of the National Environmental Quality Act, มาตรการที่อาศัยกลไกทางเศรษฐกิจ, Aircraft engine, Aircraft, การบิน, Air pollution, Market-based measure, การขนส่งทางอากาศ, มลพิษทางอากาศ, International Standard and Recommended Practices, อากาศยาน, Greenhouse gas, การปล่อยไอเสีย, Climate change, เครื่องยนต์อากาศยาน, องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ, Air transport, Aircraft operations, ICAO, Air pollutant, อนุสัญญาชิคาโก, Chicago Convention, อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ, การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ, International Civil Aviation Organization, Air Navigation Act, Annex to Convention on International Civil Aviation, Emissions, Convention on International Civil Aviation, ก๊าซเรือนกระจก, การปฏิบัติการบิน, พระราชบัญญัติการเดินอากาศ, มาตรฐานและวิธีปฏิบัติที่แนะนำระหว่างประเทศ, Aviation, ภาคผนวกแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
Enhancement and Conservation of the National Environmental Quality Act, มาตรการที่อาศัยกลไกทางเศรษฐกิจ, Aircraft engine, Aircraft, การบิน, Air pollution, Market-based measure, การขนส่งทางอากาศ, มลพิษทางอากาศ, International Standard and Recommended Practices, อากาศยาน, Greenhouse gas, การปล่อยไอเสีย, Climate change, เครื่องยนต์อากาศยาน, องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ, Air transport, Aircraft operations, ICAO, Air pollutant, อนุสัญญาชิคาโก, Chicago Convention, อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ, การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ, International Civil Aviation Organization, Air Navigation Act, Annex to Convention on International Civil Aviation, Emissions, Convention on International Civil Aviation, ก๊าซเรือนกระจก, การปฏิบัติการบิน, พระราชบัญญัติการเดินอากาศ, มาตรฐานและวิธีปฏิบัติที่แนะนำระหว่างประเทศ, Aviation, ภาคผนวกแห่งอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ
citations This is an alternative to the "Influence" indicator, which also reflects the overall/total impact of an article in the research community at large, based on the underlying citation network (diachronically).0 popularity This indicator reflects the "current" impact/attention (the "hype") of an article in the research community at large, based on the underlying citation network.Average influence This indicator reflects the overall/total impact of an article in the research community at large, based on the underlying citation network (diachronically).Average impulse This indicator reflects the initial momentum of an article directly after its publication, based on the underlying citation network.Average
